ผ่านมาครึ่งทางแล้วสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้อง
4-6
เดือน ในช่วงนี้ก็ยังคงมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งตัวคุณแม่เองและเจ้าตัวน้อยในท้อง
ซึ่งจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้ลุ้นและตื่นเต้นกันอย่างต่อเนื่องจนคลอด และการดูแลสุขภาพในช่วงนี้ก็เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเช่นกัน วันนี้แคร์มีอาการคนท้องและการดูแลตัวเองช่วงท้อง 4-6 เดือนมาฝากกันค่ะ
อาการคนท้อง 4-6 เดือน และวิธีการดูแลตัวเอง
1.มีตกขาวที่เหนียวข้นมากขึ้น
คุณแม่ท้อง 4-6 เดือนมีอาการตกขาวที่เหนียวข้นมากขึ้นเหมือนในช่วงก่อนจะมีรอบเดือนไม่ต้องเครียดค่ะ เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่การติดเชื้อหรือการอักเสบ
แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง
คุณแม่ท้อง 4-6 เดือนต้องใช้แผ่นอนามัยเพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น แต่อย่าใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไปในช่องคลอดเพราะจะมีการสะสมของเชื้อโรคได้ หากตกขาวมีสีหรือมีกลิ่นที่ผิดปกติไปแสดงว่าอาจมีการติดเชื้อ แคร์แนะนำให้พบแพทย์ค่ะ
2.เต้านมมีขนาดเพิ่มขึ้น
แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง
คุณแม่ท้อง 4-6 เดือน เลือกชุดชั้นในให้มีขนาดที่เหมาะสมและใส่สบาย
3.แสบลิ้นปี่ (Heartburn)
คุณแม่ท้อง 4-6 เดือนมีอาการแสบลิ้นปี่เป็นอาการที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้ามาในหลอดอาหาร เนื่องมาจากการที่มดลูกที่มีขนาดใหญ่ขึ้นดันกระเพาะอาหารขึ้นไป และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ทำให้กล้ามเนื้อของหลอดอาหารขยายตัว จึงมีกรดหรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นไปได้ ซึ่งจะทำให้รู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ และบริเวณทรวงอก
แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง
วิธีที่จะช่วยให้อาการเหล่านี้ทุเลาแคร์แนะนำให้คุณแม่ท้อง
4-6 เดือน
1.คุณแม่ท้องหลีกเลี่ยงอาหารทอด และอาหารที่มีไขมันสูง
2.คุณแม่ท้องทานอาหารมื้อละน้อยๆแต่บ่อยครั้ง
3.คุณแม่ท้องควรดื่มน้ำมากๆจะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
4.อย่าทานอาหารเมื่อคุณแม่ท้อง 4 – 6 เดือนกำลังจะเข้านอน หรือกำลังจะนอนพักตอนกลางวัน และ การนอนในท่าที่ศีรษะสูงอาจช่วยลดอาการลงได้ และอาจจำเป็นต้องใช้ยาลดกรดตามที่แพทย์สั่ง
4.หิวบ่อยขึ้น
แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง
แนะนำให้คุณแม่ท้อง 4-6 เดือนรับประทานอาหารบ่อยขึ้น แต่ไม่แนะนำให้รับประทานปริมาณอาหารเพิ่ม อาจจะบ่อยเพิ่มเป็นสองเท่า และควรจะรับประทานอาหารที่มีคุณค่าต่อแม่และลูกหากเป็นไปได้ให้จดชนิดและปริมาณอาหารที่รับประทานเพื่อเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐานหรือนำไปปรึกษาแพทย์ อารมณ์ช่วงนี้ยังผันผวนเสื้อผ้าเดิมเริ่มคับและอาจหลงลืมบ่อย
5.ถ้าคุณแม่ท้อง 4-6 เดือนมีอาการเส้นเลือดขอด
ระหว่างการตั้งครรภ์เส้นเลือดดำที่ขาจะต้องรับแรงกดดันเพิ่มขึ้นเป็น
3 เท่าของปกติ ยิ่งถ้าหากว่าที่คุณแม่มีน้ำหนักมากกว่ามาตรฐานด้วยแล้ว
ก็มักจะพบเส้นเลือดขอดเกิดขึ้นได้เสมอ
แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง
วิธีที่จะช่วยแก้ไขให้ดีขึ้นหรือป้องกันการเกิดเส้นเลือดขอดนั้นคุณแม่ท้อง 4-6 เดือนสามารถทำได้โดย
1.เมื่อมีเวลาว่างอยู่ที่บ้าน คุณแม่ท้องยกขาสูงพิงไว้กับข้างฝาชั่วขณะหนึ่ง ทำให้การหมุนเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงขาสามารถไหลเวียนได้สะดวกขึ้น
2.ในระหว่างวันคุณแม่ท้องสามารถทำกายบริหาร ออกกำลังโดยหมุนข้อเท้าไปรอบๆทำบ่อยๆเมื่อนึกขึ้นได้ จะช่วยให้เลือดดำไหลกลับได้ดีขึ้นและไม่ขังอยู่ทำให้เป็นเส้นเลือดขอด
6.มีปัญหาเรื่องอาการท้องผูกขึ้นได้
คุณแม่ท้อง 4-6 เดือนมีอาการท้องผูกได้ เนื่องจากมดลูกที่ขยายใหญ่มากขึ้น ทำให้ไปเบียดกับลำไส้ กระเพาะอาหาร ส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง
แคร์แนะนำให้คุณแม่ท้องรับประทานอาหารที่กากใยมากๆ อย่างผัก ผลไม้ เน้นทานเป็นที่มีกากใยสูง เช่น ข้าวกล้อง ผักคะน้า บร็อกโคลี แก้วมังกร ฝรั่ง ส้ม แอปเปิ้ล สาลี่ สับปะรด ลูกพรุน ถั่วขาว ถั่วแดง เป็นต้น เพื่อป้องกันปัญหาอาการท้องผูก และริดสีดวงทวารที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ และทานน้ำดื่มที่สะอาดวันละ 8-10 แก้ว เพราะร่างกายของคุณแม่ต้องการน้ำและวิตามินเสริมต่างๆเช่นพวกแคลเซียม
7.เพื่อเป็นการช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง
ช่วยพัฒนาระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลายของทารกในครรภ์
แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง
แนะนำให้คุณแม่ท้องรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 12 ที่สามารถทานได้จาก เนื้อปลา ไก่ หมู กุ้ง ไข่ โยเกิร์ต ชีส นมสด เป็นต้น
8.เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
คุณแม่ท้องช่วงนี้อาจมีโอกาสเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ เกิดจากกล้ามเนื้อในทางเดินระบบปัสสาวะหย่อนตัวลงได้
แนะนำวิธีการดูแลตัวเอง
คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่อั้นปัสสาวะ และหากรู้สึกปัสสาวะแสบขัด แคร์แนะนำให้คุณแม่ท้อง 4-6เดือนไปพบแพทย์ ไม่แนะนำให้ซื้อยาเองเพราะอาจมีผลกระทบต่อลูกในท้องได้
การดูแลตนเองทั้งในขั้นตอนการเตรียมตั้งครรภ์
ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอด เป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยาก คุณแม่ท้องสามารถทำเป็นประจำในชีวิตประจำวันแต่อาจละเลยไปบ้าง
หากมีความตั้งใจว่าจะตั้งครรภ์ก็อย่าลืมใส่ใจ ดูแลสุขภาพตัวเองดังบทความข้างต้น เพื่อที่จะได้มีการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
และคุณแม่ท้องจะได้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และลูกที่คลอดออกมาแข็งแรง ปลอดภัย และมีสุขภาพสมบูรณ์